ห้องเรียนฐานสมรรถนะ : การทำพินัยกรรมในรูปแบบต่าง ๆ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning วิธีสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์

เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา แผนการเรียนรู้ที่ 24 เรื่อง พินัยกรรม Learning unit 7 : กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก

😀 รายวิชา ส 30228  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 😀


โดย ครูนาย สังคมศึกษา โรงเรียนวัชรวิทย

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง พินัยกรรม  จำนวน 10 ข้อ

คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อทำแบบทดสอบและเช็คคะแนนได้เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จสิ้นแล้ว

รีวิวเนื้อหาพินัยกรรมเบื้องต้น

พินัยกรรม ทำอย่างไร

ในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา มีบุคคลต่าง ๆ หลากหลายคนได้มาปรึกษาผมเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกและขอให้ผมจัดทำพินัยกรรมไว้ให้ถูกต้องชัดเจน เพราะเกรงว่าหากไม่ได้ทำ จะมีปัญหาตามมาภายหลังเสียชีวิตไปแล้ว ทำให้นึกถึงละครดังในอดีตที่นางเอกพยายามตามหาพินัยกรรมของเจ้าคุณพ่อที่ถูกซุกซ่อนไว้ เช่น นางเอกเดินทางมาทวงทรัพย์สินตามพินัยกรรมของคุณพ่อ หรือต้องปลอมตัวออกตามหาพินัยกรรมที่ถูกซ่อนอยู่หลังรูปภาพใบใหญ่

แม้นั่นจะเป็นเพียงละคร แต่ชีวิตจริงก็ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนก็ตาม เรื่องทรัพย์สินเงินทองก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่มิอาจปฏิเสธได้   การทำพินัยกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เป็นการกำหนดการจัดการทรัพย์สินของตนเองในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่   และการทำพินัยกรรมก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแต่มีข้อควรระวังและข้อแนะนำที่สำคัญเท่านั้นเอง

เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “พินัยกรรม” ก่อนว่าคืออะไร  พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาเผื่อตายหรือกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะเป็นผลให้บังคับได้ตามกฎหมาย   การทำพินัยกรรมนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องทำแต่อย่างใด

พินัยกรรมจึงเป็นการกำหนดการไว้เผื่อตายใน 2 เรื่องด้วยกัน คือ

ในการทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดรูปแบบไว้ 5 แบบด้วยกัน ดังนี้

ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม

เมื่อได้อ่านรายละเอียดเรื่องพินัยกรรมข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมาก แต่ก็มีข้อควรระวังเพื่อให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับและสามารถให้ทรัพย์สินของเรามอบให้แก่คนที่เราไว้ใจได้ ภายหลังจากที่เราลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว

เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พินัยกรรมแบบต่าง ๆ

หน่วย 7 มรดก - พินัยกรรม.pdf
การจัดการมรดกและการทำพินัยกรรม.pdf

การฝึกปฎิบัติการ : การเขียนพินัยกรรม (ออนไลน์)

ท่านสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนพินัยกรรมต่าง ๆ ได้ที่

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ

5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา (จากวีดีโอ)

กิจกรรมสืบสวน เรื่อง "ใครฆ่า ??????"

สาระน่ารู้เกี่ยวกับพินัยกรรมแบบต่าง ๆ

วิดีโอแนะนำการทำพินัยกรรมในรูปแบบต่าง ๆ

โดยคุณพรปวีณ์ อุดมรัตนะศิลป์ 

นิติกรศูนย์นิติศาสตร์ 

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดูได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=HYTsWnCSSa8

การจัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ “เรื่องปวดหัวหลังความตาย ปัญหาการตีความพินัยกรรมในกฎหมายมรดก” จัดโดยกลุ่มนิติวิชาการ ระหว่างเวลา 17.00-19.00 น. ทาง Facebook Page : กลุ่มนิติวิชาการ – Law TU Academic Assistance Center

สามารถชมบันทึกการบรรยายย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/LAWTUAA/videos/848965902703929 

ส่งงานปฎิบัติการร่างเอกสารพินัยกรรม

ส่งงานปฎิบัติการร่างเอกสารพินัยกรรม

ให้นักเรียนแต่ละคน นำความรู้ที่ได้รับไปจัดทำร่างเอกสารพินัยกรรมแบบต่าง ๆ คนละ 1 หัวข้อ ตามหัวข้อที่กำหนด ดังนี้

โดยศึกษาความรู้และตัวอย่างการจัดทำพินัยกรรมแบบต่าง ๆ ได้จากบทเรียนบนเว็บไซต์ ที่ URL https://nine.wr.ac.th/Online-lesson/civics/unit7/wills  หรือมาข้อคำปรึกษากับครูผู้สอน ในช่วงนอกเวลา นำผลงานที่ผ่านการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ส่งครูภายหลังจากหมดชั่วโมง (ตามกำหนดที่ได้นัดหมาย) ผ่านระบบส่งงานออนไลน์ของรายวิชา ที่  URL  https://nine.wr.ac.th/Online-lesson/civics/test  

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่อง พินัยกรรม  จำนวน 10 ข้อ

คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อทำแบบทดสอบและเช็คคะแนนได้เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จสิ้นแล้ว

เอกสารสอน สำหรับครูผู้สอน