รายงานผลการพัฒนาตามข้อตกลงการพัฒนางาน Performance Agreemeet ปีงบประมาณ 2565
นายมงคล สุขีลักษณ์
ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนวัชรวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร
ในรูปแบบ Online
แบบข้อตกลงและรายงานผลการพัฒนางาน Performance Agreemeet : PA x ปีงบประมาณ 2565
ผลงานดีเด่นของครูนาย
สื่อการเรียนรู้รูปแบบ Web Application & Card game
"พิชิตปัญหาหิมะสีดำด้วยพลังงานทางเลือกใหม่สู่อนาคตที่สดใสของชาวกำแพงเพชร"
โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เพื่อพลังงานสะอาด (ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2563) ซึ่งดำเนินงานภายใต้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://tucleanenergy01.wixsite.com/bio-energy
โดย มงคล สุขีลักษณ์ และ ณิชาภัทร วงษ์บุญมาก ทีม 2GEN โรงเรียนวัชรวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการตอบปัญหากฎหมาย เนื่องในวันรพี ประจำปี พ.ศ.2565
(รอบคัดเลือกในส่วนภูมิภาค : ภาค 6 ระดับมัธยมศึกษา) และเป็นตัวแทนไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 3 กันยายน 2565
23 สิงหาคม 2565 (สามารถคลิกที่ ICON เพื่อดูรายละเอียดและภาพกิจกรรมครับ)
รางวัลชนะเลิศ การประกวดภาพยนตร์สั้น ม.4 - 6
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
และเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับชาติ (ภาคเหนือ ณ จังหวัดน่าน)
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22.47 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18.31 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14.75 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 20.45 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวม 240 ชั่วโมง/ปีงบประมาณ
1.5 การนับชั่วโมงอบรม จำนวน 2.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวม 84 ชั่วโมง/ปีงบประมาณ
งานที่ได้รับมอบหมาย (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564)
งานที่ได้รับมอบหมาย (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565)
ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
เอกสารออนไลน์ประกอบ ด้านที่ 1 : การจัดการเรียนรู้ คลิกที่นี่!!
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 1 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office ๓๖๕ เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) รายวิชา ส ๓๒๑๐๓ เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มีกระบวนการดำเนินการดังนี้
การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร ศึกษาหลักสูตรรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามหลักสูตร และบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และผู้เรียน บูรณาการการเรียนรู้อาเซียน, ท้องถิ่น, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะชีวิต, โรงเรียนสุจริต
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning อย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น 5E 5Step GPASS 5Step บูรณาการสาระท้องถิ่น อาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะชีวิต โรงเรียนสุจริตและทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เป็นแบบอย่างให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มาร่วมนิเทศการจัดการเรียนรู้ และเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning อย่างหลากหลายรูปแบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้ทำงานร่วมกัน มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และนำไปร่วมกัน PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
1) พัฒนาสื่อ นวัตกรรม ผ่านแพลตฟอร์ม Google, Microsoft และ Application เพื่อการศึกษา ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ มีทักษะการคิด การพัฒนานวัตกรรม และสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผ่าน Website https://www.ครูนายสังคมศึกษา.com, ระบบ WR Moodle LMS, และอื่น ๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ทุกที่ทุกเวลา เผยแพร่สื่อ นวัตกรรมดังกล่าว ในการร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และในโอกาสต่าง ๆ
การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับผู้เรียน ผ่าน Google form, WR Moodle LMS และApplication เพื่อการศึกษาอื่น ๆ, มีการประเมินชิ้นงานและผลงาน ตามเกณฑ์การให้คะแนนรูบิตที่ชัดเจนสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา สะท้อนกลับให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้สูงขึ้น
การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล นำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหา นำไปใช้กับผู้เรียน และสรุปผลการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ๑ เรื่อง
การจัดบรรยากาศที่ ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงบวก โดย
จัดเตรียมอุปกรณ์ในห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน
จัดทำบอร์ดสารสนเทศห้องเรียน และทางออนไลน์ เพื่อแสดงผลงานของนักเรียน และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
จัดบรรยากาศการเรียนการสอนในเชิงบวก
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 1 : (Click)
ผู้เรียนร้อยละ 75 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น โดยพิจารณาจากผลการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของแบบทดสอบในสื่อการเรียนรู้ ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีสมรรถนะ สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู และบรรยากาศในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (3.50) ขึ้นไป ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ร่องรอยและหลักฐาน (ด้านที่ 1)
แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ คลิกเพื่อเปิดแผนการสอนออนไลน์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2564 เอกสารผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายงานผลการประเมินสมรรถนะ ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2564 คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 คลิกเพื่ออ่านบทคัดย่อ
การประเมินครูผู้สอน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2564
การเรียนช่วงที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง ฟีดแบ็กครูนายหน่อยนะ https://forms.gle/xN9ZVwtVaNCPbnYh6
ผลการประเมินแยกรายคน คลิก
ผลการประเมินในภาพรวม คลิก
รางวัลและผลงานที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้สู่อัจฉริยภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ (ฉบับเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์)
นวัตกรรมการสอน
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
การประกวดผลงานการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ (Platform Contest) โดย สพม.กำแพงเพชร
(รางวัลระดับดีเยี่ยม
ประเภทครูผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้)
ผลงานด้านภาพยนตร์สั้น + บอร์ดเกม
นวัตกรรม Mix and Match Model - โรงเรียนวัชรวิทยา
ด้านที่ 2 ด้านสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
เอกสารออนไลน์ประกอบ ด้านที่ 2 : ด้านสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ คลิกที่นี่!!
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 2 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
การจัดทำข้อมูล สารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา
การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคลในประจำชั้น และประจำวิชาให้มีข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดย
จัดทำ Website รายวิชาที่รับผิดชอบ
ใช้แพลตฟอร์ม Google For Education & Microsoft Office ๓๖๕ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคล และสรุปสารสนเทศข้อมูลและรายงานผลสะท้อนกลับให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนทราบว่า ต้องปรับปรุงและพัฒนาผลการเรียนในประเด็นใดบ้าง หรือส่งภาระ/ชิ้นงานที่กำหนด
ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองผ่าน Line group การจัดประชุมผู้ปกครอง และการเยี่ยมบ้านผู้เรียน เพื่อพัฒนาป้องกัน แก้ไขปัญหา ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
มีการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียน โดยบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคนที่ลงทะเบียนเรียนผ่านระบบออนไลน์ สรุปสารสนเทศ เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง กลุ่มอ่อน สำหรับครูผู้สอนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา การปฏิบัติงาน และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานทางวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา โดยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับเพื่อนครู เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ การประสานร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย โดยผ่านกิจกรรม Classroom meeting การประสานความร่วมมือกับครูที่ปรึกษาของห้องเรียนที่รับผิดชอบสอน ในการติดตามนักเรียนที่ยังไม่ส่งภาระงาน หรือสอบวัดและประเมินในเนื้อหาต่าง ๆ ร่วมไปถึงนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในการเรียนรู้ โดยแจ้งผ่านครูที่ปรึกษา ช่วยส่งข้อมูลนักเรียนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้กับผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันกํากับติดตามนักเรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 2 : (Click)
ผู้เรียนร้อยละ 90 เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของตนเอง มีข้อมูลสารสนเทศรายบุคคลครบถ้วนในทุกด้านเป็นระบบ เป็นประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 90 พัฒนาตนเองจนสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้ ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
นักเรียนร้อยละ 90 ของกลุ่มนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการแก้ไข ปรับปรุงจนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ร่องรอยและหลักฐาน (ด้านที่ 2)
สมุดคะแนน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2564 สมุดคะแนน คลิก
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 และ 3/10 คลิกเข้าเว็บไซต์ Information room 10[EP]
รายงานการเช็คนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง คลิกเพื่อเปิด 65 - ระบบสถิติจำนวนนักเรียนวัชรฯ
ระบบสารสนเทศการตรวจสอบคะแนนผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2/2564 คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์
ระบบสารสนเทศการตรวจสอบคะแนนผู้เรียน ภาคเรียนที่ 1/2565 คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
เอกสารออนไลน์ประกอบ ด้านที่ 3 : ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ คลิกที่นี่!!
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 3 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พัฒนาตนเองโดยศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเข้ารับการอบรม สัมมนา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ นำผลการพัฒนาตนเอง แก้ไขปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนครู เพื่อแก้ไขปัญหา และสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 3 : (Click)
ครูนำผลการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ จนทำให้
ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสาน โดยใช้ นวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
รายงานผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2565 รูปแบบออนไลน์
รางวัลระดับดีเยี่ยม
การประกวดผลงานการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
ประเภทครูผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
เกียรติบัตร + วุฒิบัตร + ภาพกิจกรรม การพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
เกียรติบัตรรางวัล + ภาพกิจกรรม ที่เกิดจากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
งานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าหน้าที่งานสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มบริหารงานวิชาการ
เจ้าหน้าที่งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริหารงานทั่วไป
เจ้าหน้าที่งานศูนย์สิ่งแวดล้อม กลุ่มบริหารงานทั่วไป
หัวหน้าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัชรวิทยา
หัวหน้างานสื่อและเทคโนโลยีกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาแและวัฒนธรรม
ประมวลภาพกิจกรรม ปีงบประมาณ 2565
คลังคำสั่งปฎิบัติงาน ปีงบประมาณ 2565 [Google Drive]
คลังเก็บคำสั่งปฎิบัติงาน โรงเรียนวัชรวิทยา (ภาคเรียนที่ 2/2564)
คลังเก็บคำสั่งปฎิบัติงาน โรงเรียนวัชรวิทยา (ภาคเรียนที่ 1/2565)
คลังเกียรติบัตร ปีงบประมาณ 2565 [Google Drive]
คลังเกียรติบัตร (ภาคเรียนที่ 2/2564) [Google Drive]
คลังเกียรติบัตร (ภาคเรียนที่ 1/2565) [Google Drive]
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ในตำแหน่งครู (วิทยฐานะครูชำนาญการ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รูปแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี Google Apps for Education & Microsoft Office 365 เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้รูปแบบผสมผสานของผู้เรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564