รายงานผลการพัฒนาตามข้อตกลงการพัฒนางาน
[Performance Agreemeet] ปีงบประมาณ 2566
นายมงคล สุขีลักษณ์
ตำแหน่ง ครู ไม่มีวิทยฐานะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนวัชรวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
ปีงบประมาณ 2566
Performance Agreemeet ในรูปแบบ Online แบบ กระดาษหนึ่งใบ เข้าใจประเด็น (One-page report)
แบบข้อตกลงและรายงานผลการพัฒนางาน Performance Agreemeet : PA x ปีงบประมาณ 2566
ผลงานดีเด่นของครูนาย
รางวัลเหรียญเงินระดับชาติ
การประกวดภาพยนตร์สั้น ม.4 - 6
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ระดับชาติ
(ภาคเหนือ ณ จังหวัดน่าน)
รางวัลชนะเลิศ การประกวดภาพยนตร์สั้น ม.4-6
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
และเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับชาติ (ภาคเหนือ ณ จังหวัดน่าน)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
การประกวดภาพยนตร์สั้น ม.4 - 6
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 71
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด (คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด)
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22.46 ชั่วโมง/สัปดาห์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20.74 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14.75 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 20.45 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวม 240 ชั่วโมง/ปีงบประมาณ
1.5 การนับชั่วโมงอบรม จำนวน 2.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวม 84 ชั่วโมง/ปีงบประมาณ
งานที่ได้รับมอบหมาย (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565)
(คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด)
งานที่ได้รับมอบหมาย (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566)
(คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด)
ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้
เอกสารออนไลน์ประกอบ ด้านที่ 1 : การจัดการเรียนรู้ คลิกที่นี่!!
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 1 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
การพัฒนาสื่อการสอนแบบมีปฎิสัมพันธ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีกระบวนการดำเนินการดังนี้
การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร ศึกษาหลักสูตรรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามหลักสูตร และบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และผู้เรียน บูรณาการการเรียนรู้อาเซียน, ท้องถิ่น, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ทักษะชีวิต, โรงเรียนสุจริต
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning อย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น 5E 5Step GPASS 5Step บูรณาการสาระท้องถิ่น อาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะชีวิต โรงเรียนสุจริตและทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เป็นแบบอย่างให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มาร่วมนิเทศการจัดการเรียนรู้ และเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning อย่างหลากหลายรูปแบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้ทำงานร่วมกัน มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และนำไปร่วมกัน PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
1) พัฒนาสื่อ นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ มีทักษะการคิด การพัฒนานวัตกรรม และสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผ่าน Website https://www.ครูนายสังคมศึกษา.com, ระบบ WR Moodle LMS, และอื่น ๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ทุกที่ทุกเวลา เผยแพร่สื่อ นวัตกรรมดังกล่าว ในการร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และในโอกาสต่าง ๆ
การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับผู้เรียน ผ่าน Google form, WR Moodle LMS และApplication เพื่อการศึกษาอื่น ๆ, มีการประเมินชิ้นงานและผลงาน ตามเกณฑ์การให้คะแนนรูบิตที่ชัดเจนสอดคล้องกับธรรมชาติวิชา สะท้อนกลับให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้สูงขึ้น
การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล นำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหา นำไปใช้กับผู้เรียน และสรุปผลการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ๑ เรื่อง
การจัดบรรยากาศที่ ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศในชั้นเรียนเชิงบวก โดย
จัดเตรียมอุปกรณ์ในห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน
จัดทำบอร์ดสารสนเทศห้องเรียน และทางออนไลน์ เพื่อแสดงผลงานของนักเรียน และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
จัดบรรยากาศการเรียนการสอนในเชิงบวก
การอบรม และพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
นำข้อมูลการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลมาใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนารูปแบบการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมคามเป็นไทยที่ดีงาม ในกิจกรรมการเรียนรู้
การอบรม และพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน เป็นแบบอย่างให้กับครูที่มานิเทศการสอน ครูผู้ช่วย และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 1 : (Click)
ผู้เรียนร้อยละ 75 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น โดยพิจารณาจากผลการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของแบบทดสอบในสื่อการเรียนรู้ ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีสมรรถนะ สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 75 มีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนด ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู และบรรยากาศในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (3.50) ขึ้นไป ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ร่องรอยและหลักฐาน (ด้านที่ 1)
แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ คลิกเพื่อเปิดแผนการสอนออนไลน์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2565 เอกสารผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายงานผลการประเมินสมรรถนะ ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2565 คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนแบบมีปฎิสัมพันธ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 คลิกเพื่ออ่านบทคัดย่อ
การประเมินครูผู้สอน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2565 (ใน Google froms)
การเรียนช่วงที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง ฟีดแบ็กครูนายหน่อยนะ คลิกเพื่อตอบแบบประเมิน
ผลการประเมินแยกรายคนสำหรับครูนายอ่านคนเดียว คลิก
การประเมินครูผู้สอน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2565 (ใน inskru.com)
😆😀😄😁😅 ภาพรวมท้ายเทอม เรื่อง การเรียนช่วงที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง ฟีดแบ็กครูนายหน่อยนะ 2/2565 คลิกประเมินใน inskru.com
ผลการประเมินในภาพรวม ฉบับเผยแพร่ https://inskru.com/evaluation/66162
รางวัลและผลงานที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้สู่อัจฉริยภาพ
ปีงบประมาณ 2566
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
ปีงบประมาณ 2566
ด้านที่ 2 ด้านสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 2 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
การจัดทำข้อมูล สารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา
การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคลในประจำชั้น และประจำวิชาให้มีข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดย
จัดทำ Website รายวิชาที่รับผิดชอบ
ใช้แพลตฟอร์ม Google For Education & Microsoft Office ๓๖๕ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคล และสรุปสารสนเทศข้อมูลและรายงานผลสะท้อนกลับให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนทราบว่า ต้องปรับปรุงและพัฒนาผลการเรียนในประเด็นใดบ้าง หรือส่งภาระ/ชิ้นงานที่กำหนด
ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองผ่าน Line group การจัดประชุมผู้ปกครอง และการเยี่ยมบ้านผู้เรียน เพื่อพัฒนาป้องกัน แก้ไขปัญหา ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
มีการดำเนินการช่วยเหลือผู้เรียน โดยบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคนที่ลงทะเบียนเรียนผ่านระบบออนไลน์ สรุปสารสนเทศ เพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง กลุ่มอ่อน สำหรับครูผู้สอนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา การปฏิบัติงาน และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานทางวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา โดยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับเพื่อนครู เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ การประสานร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย โดยผ่านกิจกรรม Classroom meeting การประสานความร่วมมือกับครูที่ปรึกษาของห้องเรียนที่รับผิดชอบสอน ในการติดตามนักเรียนที่ยังไม่ส่งภาระงาน หรือสอบวัดและประเมินในเนื้อหาต่าง ๆ ร่วมไปถึงนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในการเรียนรู้ โดยแจ้งผ่านครูที่ปรึกษา ช่วยส่งข้อมูลนักเรียนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้กับผู้ปกครอง เพื่อช่วยกันกํากับติดตามนักเรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 2 : (Click)
ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน
มีข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคลพร้อมใช้งาน สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
นักเรียนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนและมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่เรียน อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้อง
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและแก้ไขปัญหา จากการใช้สารสนเทศ
ผู้เรียนได้รับการส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
ผู้เรียนมีคุณภาพจากการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เกิดจากการปฏิบัติงานตรงตามทักษะ ความรู้ ความสามารถ ของครู
ผู้เรียนได้รับการแก้ไขปัญหาทางการเรียนโดยความร่วมมือระหว่างครู กับผู้ปกครอง
ครูนำการดำเนินการด้านสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จนทำให้
ผู้เรียน เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของตนเอง มีข้อมูลสารสนเทศรายบุคคลครบถ้วนในทุกด้านเป็นระบบ เป็นประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เป้าหมายร้อยละ 90 ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100)
ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือจากการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เป้าหมายร้อยละ 90 ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100)
นักเรียนได้รับการแก้ไขปัญหาในการเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป้าหมายร้อยละ 90 ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100)
นักเรียนได้รับการไขปัญหาทางการเรียนโดยความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง เป้าหมายร้อยละ 90 ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100)
ร่องรอยและหลักฐาน (ด้านที่ 2) ด้านสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
สมุดคะแนน รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2/2565 สมุดคะแนน คลิก
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 ปีการศึกษา 2565 คลิกเข้าเว็บไซต์ Information room 10[EP]
รายงานการเช็คนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง คลิกเพื่อเปิดระบบสถิติจำนวนนักเรียนวัชรฯ
ระบบสารสนเทศการตรวจสอบคะแนนผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2/2565 คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์
ระบบสารสนเทศการตรวจสอบคะแนนผู้เรียน ภาคเรียนที่ 1/2566 คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
รายละเอียดงาน (Tasks) ด้านที่ 3 : ที่จะดำเนินการพัฒนาตามข้อตกลงใน 1 รอบ การประเมิน (Click)
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดย
จัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานความต้องการจำเป็นหรือตามแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานการศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัด
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การเข้าอบรมออนไลน์ของหน่วยงานต่าง ๆ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเอกสาร
นำความรู้ความสามารถและทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนครู เพื่อแก้ไขปัญหา และสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดย
เข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการจัด การเรียนการสอน
นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัด (Indicators) ของงานตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านที่ 3 : (Click)
ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน
1) ผู้เรียนมีคุณภาพ เนื่องจากครูนำความรู้ ความสามารถที่ได้จากการพัฒนาตนเอง มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
2) ผู้เรียนมีคุณภาพ เนื่องจากครูเข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
3) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาจากนวัตกรรมที่ครูเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ครูนำผลการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ จนทำให้
นักเรียน ร้อยละ 100 ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (เกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 75) ผลการปฎิบัติงาน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ร่องรอยและหลักฐาน (ด้านที่ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
รายงานผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2566 รูปแบบออนไลน์
เกียรติบัตรรางวัลและเกียรติบัตรการพัฒนาตนเอง ที่เกิดจากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ ปีงบประมาณ 2566
ภาพกิจกรรมการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ ปีงบประมาณ 2566
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)
รายงานผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2566 รูปแบบออนไลน์
เกียรติบัตรรางวัลและเกียรติบัตรการพัฒนาตนเอง
ที่เกิดจากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ ปีงบประมาณ 2566
ภาพกิจกรรมการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
ปีงบประมาณ 2566
งานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย
รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เจ้าหน้าที่งานสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มบริหารงานวิชาการ
เจ้าหน้าที่งานพัฒนาระบบเครือข่าย กลุ่มบริหารงานวิชาการ
หัวหน้างานวิชาการและรับผิดชอบหลักสูตร ม.ปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาแและวัฒนธรรม
คลังคำสั่งปฎิบัติงาน ปีงบประมาณ 2566 [Google Drive]
คลังเก็บคำสั่งปฎิบัติงาน โรงเรียนวัชรวิทยา (ภาคเรียนที่ 2/2565)
คลังเก็บคำสั่งปฎิบัติงาน โรงเรียนวัชรวิทยา (ภาคเรียนที่ 1/2566)
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ในตำแหน่งครู (วิทยฐานะครูชำนาญการ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนแบบมีปฎิสัมพันธ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
บทเรียนออนไลน์ ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) https://nine.wr.ac.th/Online-lesson/s32103