บทเรียนออนไลน์ ส 30228 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำหรับนักเรียนแผนการเรียนศิลป์นิติ - รัฐศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6/6)
Keywords : กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | กฎหมายเบื้องต้น | กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ | บุคคล | ทรัพย์ | นิติกรรม | ระยะเวลาและอายุความ | หนี้ | สัญญา | ละเมิด | จัดการงานนอกสั่ง | ลาภมิควรได้ | เอกเทศสัญญา | กฎหมายทรัพย์สิน | กฎหมายครอบครัว | มรดก | กฎหมายวิธีพิจารณาคดีความแพ่ง
นายมงคล สุขีลักษณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัชรวิทยา
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน (@wr.ac.th) เท่านั้น
คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
รายวิชากฏหมายแพ่งและพานิชย์ รหัสวิชา ส 30228 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลาเรียน 80 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ศึกษา อธิบาย วินิจฉัย เกี่ยวกับ หลักการและสาระสำคัญของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่มา ความสำคัญ และลักษณะของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพต่าง ๆ ได้แก่ บรรพ 1 หลักทั่วไป ประกอบด้วย บุคคล ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา และอายุความ บรรพ 2 หนี้ ได้แก่ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป สัญญา ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา อายุความ เข้าใจหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ได้แก่ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนและบริษัท สมาคม และสามารถจัดทำร่างสัญญาประเภทต่าง ๆ ได้ หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของ บรรพ 4 ทรัพย์สิน ได้แก่ กรรมสิทธิ์ ครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับกฎหมายทรัพย์สิน บรรพ 5 ครอบครัว ได้แก่ สมรส บิดามารดาและบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู บรรพ 6 มรดก ได้แก่ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก พินัยกรรม วิธีการจัดการและปันทรัพย์มรดก การเสียสิทธิ์ในการรับมรดก อายุความ และเปรียบเทียบกฎหมายครอบครัวและมรดกในกลุ่มประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
มีทักษะในการวิเคราะห์และวินิจฉัยประเด็นปัญหาโดยใช้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเสนอแนวทางเพื่อนำไปปฎิบัติได้ถูกต้อง โดยใช้กรณีศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งและพาณิชย์ที่น่าสนใจ ได้แก่ บรรพ 1 หลักทั่วไป บรรพ 2 หนี้ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา บรรพ 4 ทรัพย์ บรรพ 5 ครอบครัว บรรพ 6 มรดก
ศึกษา อธิบาย วินิจฉัย เกี่ยวกับ หลักการ รูปแบบ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีความแพ่งกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง บทวิเคราะห์คำศัพท์ หลักทั่วไปว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลและเขตอำนาจ คู่ความ การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร คำพิพากษาและคำสั่ง การดำเนินคดีความแพ่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในศาลชั้นต้นโดยวิธีพิจารณาสามัญและวิสามัญ กระบวนการอุทธรณ์และฎีกา หลักการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการนำหลักกฎหมายจารีตประเพณีในท้องถิ่นมาใช้ในการพิจารณาคดี หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับวิชาชีพนักกฎหมาย
โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และตระหนักเห็นคุณค่า และความสำคัญของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว มีเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ผลการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 10 ผลการเรียนรู้ ได้แก่
มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
อธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของหลักทั่วไป
อธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของหนี้
เข้าใจหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของเอกเทศสัญญา และสามารถจัดทำร่างสัญญาประเภทต่าง ๆ ได้
อธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของทรัพย์สิน
อธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของครอบครัว
อธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของมรดก
มีทักษะในการวิเคราะห์และวินิจฉัยประเด็นปัญหาโดยใช้หลักของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเสนอแนวทางเพื่อนำไปปฎิบัติได้ถูกต้อง
เข้าใจถึงหลักการ รูปแบบ ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีความแพ่ง
มีเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย
Learning unit 0 : ปฐมนิเทศ
แบบทดสอบวัดความรู้เพื่อจัดกลุ่มการเรียน
เอกสารประกอบการเรียน ส 30228 กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ คลิก
แผนการวัดและประเมินผลรายวิชา ส 30228 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์คลิกเพื่อเปิดเอกสารปี 2567
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
รวมการบรรยายออนไลน์ และ เอกสารประกอบการสอน ท่าพระจันทร์ คลิก
ตรวจสอบคะแนนเก็บและประมวลคะแนนรวม คลิก
Learning unit 1 - 8 : ทางเข้าหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 8
คลังข้อสอบ
สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คู่มือการแข่งขันโต้เถียงปัญหากฎหมายโดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ ระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปีการศึกษา 2564 (Moot Court Competition Academic Year 2021)
#mootcourtcompetitionacademicyear2021
moot-court-competition-academic-year-2021-handbook.pdf (tu.ac.th)
ฟังบรรยายกฎหมาย
#ไม่อยากอ่านฟังทางนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ ๑ https://youtu.be/x0mjVzd-ABU
บรรพ ๒ https://youtu.be/ZT0rt2_e7jA
บรรพ ๓ https://youtu.be/wQNWwNZmBoQ
บรรพ ๔ https://youtu.be/cPpEQmaw_PY
บรรพ ๕ https://youtu.be/-Q68UM0VHcg
บรรพ ๖ https://youtu.be/D1V-BKLmJHA
คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์ เอกสารประกอบคำบรรยาย ภาคเรียนที่ 1 สมัยที่ 73
รวมบรรยาย วิ.แพ่ง
วิแพ่ง ครั้งที่ 1 กลุ่มมาตราในการตั้งคำถาม, สาระสำคัญและลักษณะของคำฟ้องกับระบบ ป.วิ.พ. (21/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2069
วิแพ่ง ครั้งที่ 2 หลักแตกต่างของคำฟ้องในศาลชั้นต้นกับคำฟ้องอุทธรณ์,อะไรเป็นคำฟ้องบ้างตาม ปวิพ (21/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2070
วิแพ่ง ครั้งที่ 3 องค์ประกอบสำคัญของคำฟ้องและการเตรียมคำฟ้องตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. (21/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2071
วิแพ่ง ครั้งที่ 4 ใครเป็นผู้ตรวจคำฟ้อง,การสั่งของศาลกับกระบวนการทางวิแพ่งและหลักกฎหมาย ป.พ.พ. (21/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2072
วิแพ่ง ครั้งที่ 5 การพิจารณาว่าจะนำคดีไปฟ้องศาลใด,ตัวบทเกี่ยวข้อง,การยื่นฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง,ภูมิลำเนา
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2073
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2560
วิแพ่ง ครั้งที่ 6 ภูมิลำเนากับการยื่นฟ้องคดีแพ่ง,ภูมิลำเนาในคดีแพ่ง,ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา(22/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2074
วิแพ่ง ครั้งที่ 7 ภูมิลำเนาของนิติบุคคล,การเปลี่ยนภูมิลำเนากับการยื่นฟ้องคดีแพ่ง,ภูมิลำเนาตาม ป.วิ.พ
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2075
วิแพ่ง ครั้งที่ 8 ภูมิลำเนาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 3(2),หลักการใช้ ม. 3(2) จากคำพิพากษาฎีกา (22/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2076
วิแพ่ง ครั้งที่ 9 หลักกฎหมายจากข้อสอบผู้ช่วยและวิธีตอบคำถามให้ได้คะแนนดี,เขตอำนาจศาล ม.4(1) (22/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2077
วิแพ่ง ครั้งที่ 10 หลักการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(1) และหลักจากศาลฎีกา (
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2078
วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2560
วิแพ่ง ครั้งที่ 11 คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 ทวิ,อสังหาริมทรัพย์คืออะไรบ้างตาม ป.พ.พ.
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2079
วิแพ่ง ครั้งที่ 12 คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 ทวิ (ต่อ) (23/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2080
วิแพ่ง ครั้งที่ 13 ศึกษาวิธีตอบข้อสอบเรื่องเขตอำนาจศาลและวิธีตอบคำถามให้ได้คะแนนดี (23/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2081
วิแพ่ง ครั้งที่ 14 วิเคราะห์หลักกฎหมายจากฎีกาเรื่องเขตอำนาจศาล,คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก(23/10/60
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2082
วิแพ่ง ครั้งที่ 15 หลักการใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา และวิธีตอบคำถาม (23/10/60)
http://www.prayutlaw.com/magazine-detail/2083