บทเรียนออนไลน์ ส 30261 เหตุการณ์ปัจจุบัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 - 5/7
( โลกศึกษา | เหตุการณ์ปัจจุบัน | สาระร่วมสมัย | เหตุการณ์โลกปัจจุบัน | เหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ | สถานการณ์โลก | ส 30265 เหตุการณ์ปัจจุบัน [เดิม] )
"สร้างมุมมองใหม่ และเปิดกว้างทางโลกทัศน์"
โดย นายมงคล สุขีลักษณ์
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัชรวิทยา
บางลิงก์สามารถเปิดได้เฉพาะภายใน @wr.ac.th เท่านั้น ขออภัยในความไม่สะดวก
คำอธิบายรายวิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน (Course Description)
คำอธิบายรายวิชา (สาระเพิ่มเติม) รายวิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 - 5/7 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ศึกษา อภิปราย อธิบาย วิเคราะห์ เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตยูโรโซน การอัญเชิญแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เหตุการณ์ในประเทศไทย เหตุการณ์ในประเทศอาเซียน สงครามอินโดจีนผลกระทบของสงครามอินโดจีน การเกิดประเทศใหม่ กัมพูชา กรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร การปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ 14 ต.ค. พฤษภาทมิฬ ความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหาร19 กันยายน 2549 เหตุการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกาะติดสถานการณ์บ้านเมืองเป็นของเราทุกคน รู้จักเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งอย่างชาญฉลาดสร้างสรรค์และเป็นระบบ วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและในท้องถิ่นกำแพงเพชร ภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เอลนิโญ/ลานิญา สึนามิ อนุสัญญาไซเตส ตระหนักถึงปัญหาในการใช้สอยและอนุรักษ์ ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นกำแพงเพชร บทบาทหน้าที่ ในการอนุรักษ์
ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การอภิปราย กระบวนการทางสังคมและกระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ไขปัญหา กระบวนการ RCA กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) มีการบูรณาการและประยุกต์ใช้ตามเนื้อหาในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น อาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ (Active Learning) และการบูรณาการตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความขัดแย้งและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก สังคมโลกยุค โลกาภิวัตน์ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ผลการเรียนรู้
อธิบายบทบาทของรัฐบาลด้านนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและการอัญเชิญแนวประราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
วิเคราะห์เหตุการณ์ในประเทศไทยและประเทศสมาชิกในอาเซียนที่สําคัญ ต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง เข้าสู่โลกสมัยปัจจุบัน
วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและในท้องถิ่นกำแพงเพชร
รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 ผลการเรียนรู้
คำอธิบายรายวิชาเดิม [ส 30265 เหตุการณ์ปัจจุบัน]
ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความขัดแย้งและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของกรณีตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุการณ์และผลกระทบในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ลักษณะสำคัญของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อสังคมไทยและสังคมโลก
โดยใช้กระบวนการ สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก คิดอย่างมีวิจารณญาณ การสืบค้นและสร้างองค์ความรู้ กระบวนการกลุ่ม และการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความขัดแย้งและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและภูมิภาคต่างๆ ของโลก สังคมโลกยุค โลกาภิวัตน์ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ผลการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 7 ผลการเรียนรู้ ได้แก่
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
มีความรู้ ความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาสงครามเย็น
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุการณ์และผลกระทบตลอดจนเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
วิเคราะห์บาทบาทขององค์การสหประชาชาติในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งและประสานประโยชน์ในจุดต่างๆของโลก
วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ผลกระทบที่เกิดขึ้นและเสนอแนวทางในการป้องกันแก้ไข
วิเคราะห์ภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
ตระหนักรู้สังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อสังคมไทยและสังคมโลกรู้จักเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งอย่างชาญฉลาด สร้างสรรค์ และเป็นระบบ
Learning unit 0 : ปฐมนิเทศ
เหตุการณ์ หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือกำลังเกิดขึ้น ในปัจจุบัน เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ และเหตุการณ์นั้นต้องอยู่บนสภาวะแห่งความเป็นจริง ต่างแต่ว่าเกิดขึ้น ในเวลาใด หากเกิดในปัจจุบัน ก็ถือว่า เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
เหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นการวิเคราะห์รากฐานด้านประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของเหตุการณ์สำคัญในปัจจุบัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เหล่านั้นกับผลกระทบต่อสังคมโลก
Analysis of historical, political, and socio-economic root and natural phenomena of significant contemporary world affairs and their effects on the global community.
นักเรียนทุกคนจะต้องกรอกแบบฟอร์ม 3 แบบฟอร์ม ได้แก่
แบบฟอร์มทำความรู้จักนักเรียน (ขอให้กรอกทุกคนนะครับ) ทำความรู้จักนักเรียนของครูนาย
แบบฟอร์มลงทะเบียนเรียนรายบุคคล วิชา ส 30261 คลิกเพื่อลงทะเบียนเรียน ส 30261
แบบทดสอบวัดความรู้เพื่อจัดกลุ่มการเรียน
แบบ Web Application คลิกเพื่อทำ ข้อสอบ pre-test ส30261
แบบ Google froms App คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ
ผลคะแนนการสอบก่อนเรียน ผลการสอบก่อนเรียน ส 30261
เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ส 30261 เหตุการณ์ปัจจุบัน คลิกเพื่อเปิด สำหรับนาย
PPT นำเสนอ แนะนำรายวิชา ส 30261 เหตุการณ์ปัจจุบัน
วิธีการเขียนบรรณานุกรม รูปแบบ APA 6 ในงานวิชาการ คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์
ตรวจสอบคะแนนก่อนเรียน - คะแนนเก็บรายบุคคล คลิกเพื่อเปิดระบบคะแนน
ความรู้พื้นฐานเหตุการณ์ปัจจุบัน
ความรู้พื้นฐานเหตุการณ์ปัจจุบัน
คำว่า เหตุการณ์ หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นแล้วในอดีตหรือกำลังเกิดขึ้น ในปัจจุบัน เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ และเหตุการณ์นั้นต้องอยู่บนสภาวะแห่งความเป็นจริง ต่างแต่ว่าเกิดขึ้น ในเวลาใด หากเกิดในปัจจุบัน ก็ถือว่า เป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน
สังคมแต่ละสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้จากสังคมไทยในอดีต เป็นสังคมสัมพันธ์ ไม่ว่าสังคมนั้นจะเป็นสังคมชนบท หรือสังคมเมือง ต่างก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดในหมู่เดียวกันและในปัจจุบัน สังคมชนบทซึ่งเป็นสังคมเล็กๆ ยังคงมีการติดต่อเสริมสร้างสัมพันธภาพต่อกันและกันเหมือนเดิม แต่ต่างจากสังคมเมืองที่เป็นสังคมหนาแน่น มีอาชีพธุรกิจการค้าขายหรือธุรกิจ การติดต่อสัมพันธภาพจึงเป็นลักษณะเพื่อการดำรงชีพของตนในรูปแบบธุรกิจ ลักษณะต่างคนต่างอยู่
ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหา เช่น การพัฒนาจากสังคมเก่าแก่มาเป็นสังคมสมัยใหม่ตามความเจริญของสังคมและเทคโนโลยีนั้นๆ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ก็มีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก ความขัดแย้ง ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนและส่วนรวม
การแก้ปัญหาความขัดแย้งขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะนำทรัพยากรทางธรรมชาติมาใช้เป็นเครื่อง อุปโภคและบริโภค และอาศัยคุณธรรม จริยธรรมที่งอกงามควบคู่กับความเจริญเติบโตของสังคม มนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน ย่อมจะต้องทำประโยชน์แก่ชุมชนของตน
การเกิดเหตุการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาเหตุการณ์จากข่าวประจำวัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก ล้วนมีสาเหตุทั้งสิ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนใน เหตุการณ์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจจะขยายออกไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลกมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวพันกับส่วนอื่นๆ ในลักษณะใด ปัจจุบันโลกที่เคยคิดว่า กว้างใหญ่ได้แคบลงเหมือนโรงละครเล็กๆ ที่พลโลกได้มองเห็นและสัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความก้าวหน้าทางโทรคมนาคมสื่อสารและเทคโนโลยี โลกยุคใหม่เต็มไปด้วย การเปลี่ยนแปลงและแข่งขัน ความผันผวนทางการเมืองวิถีทางการฑูต การชิงความได้เปรียบในด้านการค้าขายได้ขยายไปทั่วโลก จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งข่าวสารและข้อมูล หากประเทศใดได้รับ ข่าวสารและมีข้อมูลมากอยู่ในมือก็ถือว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะฉะนั้น การศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์โลกปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องฉับไวแทันต่อ เหตุการณ์ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นให้เข้าใจถึงสาเหตุมูลฐานทั่วไปก่อน โดยแยกออกเป็นข้อๆ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรของโลกในปี ค.ส. 1963 ปรากฏว่า ประชากรของโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นถึง 55-60 ล้านคน เมื่อจำนวนพลโลกเพิ่มขึ้นนี้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การขาดแคลนอาหาร การว่างงาน ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการจัดการศึกษาไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้น มีการแบ่งกลุ่มเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่ด้อยพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วก็มักจะขยายอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของตนเข้าไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนา ปัญหาที่ตามมาก็คือ ประเทศที่ด้อยพัฒนาบางประเทศรับเอาอารยธรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาใช้ โดยไม่มีการเลือกเฟ้นว่าจะเป็นผลดีและมีประโยชน์ต่อประเทศตนหรือไม่ จึงก่อให้เกิดปัญหาการขัดแย้งเรื่องวัฒนธรรมภายในประเทศ ประเพณีอันดีงามหลายอย่างถูกทำลายและทอดทิ้งไป ทำให้เกิดความสับสนในด้านการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความจำเป็นเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภคก็ตามมา ทำให้มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นประเทศที่ร่ำรวย มีทุนมาก ก็พยายามพัฒนาเครื่องจักรกลและวิธีการผลิตให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดระบบสังคม อุตสาหกรรมและพัฒนาการค้าของโลก แล้วขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าไปยังดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จนก่อให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างประเทศมหาอำนาจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามแบบใหม่ที่เรียกว่า “สงครามเย็น” (Cold War) ได้เกิดขึ้นและดำเนินมาซึ่งเป็นสงครามระหว่างลัทธิโลกเสรีกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้กันทุกรูปแบบ ยกเว้นการปะทะกันด้วยกำลังทหารและอาวุธ การศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานของเหตุการณ์ปัจจุบันของโลกดังกล่าว จะต้องอาศัยปัจจัยและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ โทรเลข โทรคมนาคม เทเล็กซ์ ดาวเทียม เป็นต้น และสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ จุลสาร วารสาร เอกสาร หนังสือ ตำรา เป็นต้น
วิธีศึกษาเหตุการณ์ปัจจุบัน
อ่านเพื่อวิเคราะห์ข่าว การศึกษาเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะให้ได้ความจริงและความถูกต้องนั้น จำต้องอาศัย กระบวนการที่เป็นระบบ ไม่ควรด่วนสรุปหรือลงความเห็นไปตามข้อมูลหรือข่าวสารที่รับมา ขณะนั้น เพราะข้อมูลและข่าวสารที่ออกมานั้นมาจากแหล่งต่างๆ มากมาย บางแหล่งก็น่าเชื่อได้ บางแหล่งก็ไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะออกมาจากแหล่งใดก็ไม่ควรด่วนเชื่อไปตามนั้น แต่ควรปฏิบัติไปตามกระบวนดังต่อไปนี้
การแยกใจความของข่าวหรือเนื้อข่าว ขั้นต้นนี้ ผู้ศึกษาควรแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วนำข้อมูลจากแต่ละแหล่งมาวิเคราะห์แยกแยะ ให้ทราบว่าเป็นข่าวเกี่ยวกับอะไร เกิดขึ้นที่ไหน เกิดขั้นเมื่อใด และใครหรืออะไรเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ก่อ แล้วแยกออกเป็นส่วนๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือลงความเห็นลงไปว่า แหล่งข่าวนั้นผิด แหล่งข่าวนี้ถูก เพียงให้ทราบที่มาของเนื้อข่าวว่าเป็นเรื่องอะไร ที่ไหน และเมื่อไร ใครหรืออะไรเป็นต้นเหตุเท่านั้น
การแยกส่วนที่เป็นทัศนคติของข่าว ขั้นตอนที่สองนี้ ผู้ศึกษาต้องแยกส่วนที่เป็น ทัศนคติของข่าวแต่ละแหล่งที่ได้มา ควรจะให้ทราบว่าส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นเนื้อหา ของข่าว และส่วนใดที่เป็นทัศนคติส่วนตัวของผู้เสนอข่าว ซึ่งผู้เสนอข่าวมักจะสอดแทรกทัศนคติของตนด้วยการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความ คิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในส่วนหลังนี้อาจจะทำให้ผู้รับข่าวสารเชื่อตามหรือเข้าใจผิดได้ เพราะการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้เสนอข่าว อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางความคิดและทัศนคติของผู้เสนอข่าว ตัวอย่างเช่น ประชาชน กลุ่มหนึ่งพากันชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องตามสิทธิเสรีภาพที่มีอยู่ ผู้เสนอข่าวจากแหล่งหนึ่ง มองว่า ประชาชนกลุ่มนี้กำลังก่อความวุ่นวายและสร้างความไม่สงบให้แก่บ้านเมือง รัฐบาลควรเข้าปราบปรามคนกลุ่มนี้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่อีกแหล่งหนึ่งเสนอข่าวโดยการมองว่า ประชาชนกลุ่มหนึ่งกำลังเดินขบวนเรียกร้องไปตามสิทธิเสรีภาพที่พวกเขาสามารถ กระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องแยกทัศนคติของข่าวให้ได้ก่อน อย่าปลงใจเชื่อไปตามทัศนคติของข่าวแม้จะตรงกับแนวคิด ของตนก็ตาม
ศึกษาแหล่งข่าวเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ขั้นตอนที่สาม ผู้ศึกษาต้องศึกษาและค้นหาแหล่งที่มาของข่าวว่ามาจากแหล่งใดบ้าง การรู้แหล่งที่มาของข่าวนั้นจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ถึงทัศนคติของข่าวได้ง่ายขึ้น การวิเคราะห์แหล่งข่าวใช้หลักการวิเคราะห์ในสาเหตุ 2 ประการ คือ
ผู้เสนอข่าวมีผลประโยชน์อยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ และ
ผู้เสนอข่าวยึดติดกับลัทธิชาตินิยม หรือไม่ ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการขัดแย้งและเกิดการปะทะกันที่พรมแดนระหว่างประเทศ นักข่าวที่เสนอข่าวออกมานั้นมาจากแหล่งใดหรือเป็นคนชาติใด นับถือลัทธิอะไร และมีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นต้น แหล่งข่าวระดับโลกที่มีอิทธิพลต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสำนักงานที่ให้บริการข่าวแก่ประเทศต่างๆ ได้แก่
สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ของอังกฤษ
สำนักข่าวทาสซ์ (Tass) ของรัสเซีย
สำนักข่าว AP หรือ The Associated Press ของสหรัฐอเมริกา
สำนักข่าว UPI หรือ The United Press International ของสหรัฐอเมริกา
สำนักข่าว AFP หรือ Agence France Press ของฝรั่งเศส
สำนักข่าวซินหัว (Sinhua) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ฯลฯ
การวิเคราะห์ข่าวควรตระหนักใน 2 เรื่อง คือ การศึกษาถึงภูมิหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการตีความและวิเคราะห์เหตุการณ์ การศึกษาภูมิหลังของเหตุการณ์กระทำได้โดยวิธีการ ทางประวัติศาสตร์บางส่วน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น
การวิเคราะห์ข่าว มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
ช่วยให้เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบุคคล เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ
การรู้เรื่องราวระหว่างประเทศ จะช่วยให้เราประชาสัมพันธ์กับต่างประเทศได้ดีขึ้น
สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายไทยเราว่า หันเหไปในทางทิศใดและมีลักษณะอย่างใด
ให้ความรู้รอบตัว มีหูตาสว่างไสว ทันต่อเหตุการณ์ของโลก
สิ่งที่ควรใช้ประกอบในการวิเคราะห์ข่าว
มีหลักฐานและข้อมูลที่สะสมและรวบรวมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง
ติดตามข่าวโดยต่อเนื่องกันทุกระยะ
ศึกษาประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น
อ่านบทนำจากหนังสือพิมพ์ต่างประเทศฉบับที่มีชื่อเสียงของโลก เพื่อศึกษาวิธีจับประเด็นของข่าวมาวิเคราะห์ และศึกษาวิธีเรียบเรียง
ทางเข้า Learning unit 1 - 6
คลิกหน่วยที่ต้องการที่รูปภาพได้เลย
นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ ในวิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน X Independent Study : IS
ขอบคุณไอเดียเพิ่มเติมจาก ครูผู้เรียนรู้ และต้องการสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้
นิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ X Independent Study : IS
การศึกษาค้นคว้าอิสระ รายวิชา ส 30261 เหตุการณ์ปัจจุบัน
"สร้างมุมมองใหม่ และเปิดกว้างทางโลกทัศน์"
เตรียมตัวสอบกลาง - ปลายภาค ส 30261 เหตุการณ์ปัจจุบัน
Independent Study : IS ปี 2563
independent research การศึกษาค้นคว้าอิสระ รายวิชา ส 30265 เหตุการณ์ปัจจุบัน
ขณะนี้ .. สามารถเข้าชมผลงานนักเรียน คลิกเลย
การทดสอบกลางภาค - ปลายภาค ในรูปแบบ ONLINE
สำหรับแอดมิน
แบบทดสอบวัดความรู้เพื่อจัดกลุ่มการเรียน 2564 คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ
ปี 2564 ระบบส่งงานอัตโนมัติ : Job submission system วิชา ส 30265 เหตุการณ์ปัจจุบัน
ดูข้อมูลการลงทะเบียนเรียน ส 30265 คลิก
เตรียมพร้อมสอบปลายภาคเรียน ส 30265 เหตุการณ์ปัจจุบัน ปี 2563