UNIT 2 : ความถนัดทางรัฐศาสตร์
(เก็บ POINT วิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ และข้อสอบเรียงความทางรัฐศาสตร์)
keyword : ความถนัดทางรัฐศาสตร์ , วิชาเฉพาะทางรัฐศาสตร์ , การเมืองการปกครอง , การบริหารรัฐกิจ , รัฐประศาสนศาสตร์ , ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน (@wr.ac.th) เท่านั้น
Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
เมื่อนักเรียนเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถ
มีความรู้ ความเข้าใจในหลักวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น หลักรัฐศาสตรฺเฉพาะแขนงวิชาการเมืองการปกครอง แขนงวิชาการบริหารรัฐกิจ-รัฐประศาสนศาสตร์ และแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่จำเป็น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความรู้เกี่ยวกับหลักรัฐศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการตีโจทย์วิชาเฉพาะทางรัฐศาสตร์ รวมไปถึงการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
เนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ใช้เวลา (เรียน 18 + สอบ 2) ชั่วโมงประกอบด้วย 4 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
เก็บ Point รัฐศาสตร์
ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
ALL POL SCI KNOCKOUT
การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
แล๊คเซอร์สอนฉบับออนไลน์ (เผื่อใครตามไม่ทันดูได้ที่นี้ คลิกเลย)
(0) แบบทดสอบก่อนเรียน Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์ เข้าสอบ คลิก รหัสผ่าน : ศูนย์สิบตัว
(1) เก็บ Point รัฐศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (1) : เก็บ Point รัฐศาสตร์
EP 1 เข้าใจในหลักรัฐศาสตร์ ม.ปลาย คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
EP 2 EP.02 คุยเฟื่องเรื่องการเมืองไทย คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แบบทดสอบหลังเรียน TOPIC (2) : เก็บ Point รัฐศาสตร์ คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ
(2) ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (2) : ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
EP 1 เตรียมพร้อมพิชิต A-Level SOC [รัฐศาสตร์ 1] คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
EP 2 เตรียมพร้อมพิชิต A-Level SOC [เอกสารเสริม 2]
แบบทดสอบหลังเรียน TOPIC (2) : ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
(3) ALL POL SCI KNOCKOUT
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (3) : ALL POL SCI KNOCKOUT
EP 1 ALL POL SCI KNOCKOUT รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทั้งสามแขนง คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
PowerPoint 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เก็บ Point รัฐศาสตร์ (สามแขนงหลัก PS - PA - IR) สำหรับผู้ที่จดแล๊คเชอร์ไม่ทัน คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์
EP 2 long Tum DO ทดลองข้อสอบวิชาความถนัดทางรัฐศาสตร์ [สอนเสริมเฉพาะผู้มุ่งสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ทั้ง 3 แขนง]
แขนง POL คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แขนง PA คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แขนง IR คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
ข้อสอบวิชาความถนัดทางรัฐศาสตร์ รวม 3 สาขา ไฟล์ที่ 1 ไฟล์ที่ 2 ไฟล์ที่ 3
การเขียนตอบ "เรียงความ" จริงๆแล้วไม่ยาก ถ้าทำตามขั้นตอนนี้คือ
1.) คิดประโยคใจความสำคัญ พร้อมเหตุผล 3 ข้อ (ทำเป็น mapping 3 เส้นก็ได้)
2.) เอาประโยคดังกล่าวไปไว้ในส่วนท้ายของย่อหน้าแรก เพื่อเน้นย้ำว่านี่คือประเด็นหลักที่เราจะเขียน
3.) แยก 3 เหตุผล ออกเป็น 3 ย่อหน้าถัดไป แต่ละย่อหน้าไ่ม่ควรเกิน 5-7 บรรทัด
4.) ตอนแรกของส่วนสรุป ให้ทำการเขียนใจความสำคัญพร้อมเหตุผลทั้ง 3 อีกครั้งในประโยคแรกของส่วนสรุป เพื่อเน้นย้ำว่าเราได้กล่่าวไว้ทั้งหมดแล้ว
5.) ตอนท้ายของส่วนสรุป ให้ปิดโดยใช้ "ข้อเสนอแนะ" "คาดการณ์" หรือ "ตั้งคำถามทิ้งท้าย"
แค่นี้เราก็จะได้เรียงความ 2 หน้าที่มีความชัดเจนและโครงสร้างที่เป็นระบบทำให้เรียงความมีประเด็ฯหลักและไม่ออกทะเลครับ
https://www.facebook.com/131061657003662/posts/134671366642691/
www.slideshare.net/weerawong9/how-to-write-an-academic-essay-71898345/1 คลิกเพื่อเปิดหลักการเขียนบทความวิชาการทางรัฐศาสตร์ How to write an academic essay
(4) การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
กระดาษเขียนเรียงความแบบเส้น แบบกว้างเส้นแดงสำหรับสอบ
คู่มือคำแนะนำการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
Political science essay writing
หลักการเขียนตอบข้อสอบเรียงความ คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
😀 ตัวอย่างหัวข้อการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ (คลิกเพื่อดูสิ่งที่ซ่อน)
สาขาการเมืองการปกครอง
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับรัฐธรรมนูญ 2560 ที่สามารถเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ และ การมีนายกคนนอกเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จงอภิปราย
ให้เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่าง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม พร้อมทั้งอภิปรายว่าระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด จงอภิปราย
“ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญคือประเทศที่เป็นประชาธิปไตย” ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นหรือไม่ จงอภิปราย
“องค์กรอิสระ”มีความสำคัญอย่างไร และมีความจำเป็นหรือไม่สำหรับประเทศไทย จงอภิปราย
เหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบการเมืองไทยในปัจจุบัน
การต่อสู้ของภาคประชาชนโดย กปปส.ช่วงปี พ.ศ.2556 - 2557 กับการต่อสู้โดยนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ถ้าท่านสามารถกลับไปแก้ไขประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ท่านจะเลือกกลับไปแก้ไขช่วงเวลาใดเพื่อที่จะทำให้สังคมไทยมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีวิธีการทำอย่างไร จงอภิปราย
"ประชาธิปไตยคืออะไร.." จงอภิปรายมาพอสังเขป
ท่านคิดว่า มายาคติหรือวาทกรรมใดที่ส่งผลต่อการขัดขวางการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทยมากที่สุด จงอภิปราย
ท่านคิดว่าหากเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับการนำมาใช้ ประเทศไทยจะเป็นเช่นไร
"การปกครองระบอบประชาธิปไตย" ดีที่สุดในโลกจริงหรือ ? จงอภิปราย
สาขาการบริหารรัฐกิจ
ให้เปรียบเทียบระหว่าง กรุงเทพ กับ เชียงใหม่ ว่ามีความแตกต่างหรือไม่ในเชิงโครงสร้างบริหารราชการแผ่นดิน จงอภิปราย
ในทัศนะของท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ จงอภิปราย
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร จงอภิปราย
การแก้ปัญหาคอรัปชั่นที่ดีต้องแก้ไขปัญหาด้วยการเอาคนดีมาปกครอง ท่านเห็นด้วยหรือไม่
ท่านคิดว่าการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจของเอกชนสามรถนำมาปรับปรุงเพื่อให้นำมาใช้กับการดำเนินงานของภาครัฐของไทยในปัจจุบันได้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
เมื่อรัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ท่านคิดว่าประเทศไทยมีสภาพการเมือง เศษรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจงอภิปราย
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “การกระจายอำนาจเท่ากับการส่งเสริมประชาธิปไตย” จงอภิปราย
ระบบราชการที่ดี ควรมีลักษณะเช่นไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
ท่านคิดว่านโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ กับ นโยบายประชารัฐของรัฐบาลประยุทธ์มีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไรจงอภิปรายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาพอสังเขป
การบริหารรัฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีความล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ จงอภิปราย
สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐชาติสมัยใหม่ (Modern State) คืออะไร จงอธิบาย
คำกล่าวว่า “รัฐเป็นตัวแสดงสำคัญในเวทีระหว่างประเทศแต่ไม่ใช่ตัวแสดงเดียว” หมายความว่าอย่างไร
ปัจจัยของการกำหนดนโยบายต่างประเทศคืออะไร และในกรณีประเทสไทย ปัจจัยใดสำคัญที่สุดในความคิดของท่าน
ประเทศมหาอำนาจคืออะไร และในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางการทูตของประเทศไทยต่อประเทศเหล่านี้มีลักษณะเช่นไร
เครื่องมือทางการทูต คืออะไร ปัจจุบันนี้เครื่องมือใดได้รับความนิยมมากที่สุดในความเห็นของท่าน
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้รัฐเกิดการรวมตัวกัน เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ หรือองค์กรระหว่างรัฐ
การก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในปัจจุบันสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนมีแนวโน้มจะดำเนินรอยตามสหรัฐอเมริกา ในการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกได้หรือไม่ และการก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจของจีนจะเหมือนหรือต่างกับบริบทของสหรัฐอเมริกาอย่างไร
องค์การสหประชาชาติคืออะไร ในปัจจุบันนี้ ยังคงมีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศหรือไม่
การขยายตัวของลัทธิก่อการร้าย จะส่งผลเช่นใดต่อรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ท่านคิดว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถานการณ์อย่างไร และบทบาทของประชาคมอาเซียนจะช่วยลดปัญหาหรือส่งเสริมให้ดีขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีการสังหารนักข่าวชาวตุรกี นายจามาล คาชูจกี จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
สงครามเบ็ดเสร็จ (Total War) คืออะไร ท่านคิดว่าอนาคต จะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่
กระแสการก้าวขึ้นมาของพรรคการเมืองฝ่ายขวา เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ (Globalization) หรือไม่ อย่างไร
แนวทางการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism) และอนุรักษ์นิยม (Conservative) พบในรัฐใดในปัจจุบันหรือไม่ ทั้งสองอุดมการณ์มีลักษณะทางการระหว่างประเทศอย่างไร
ท่านคิดว่าในอนาคตจะมีการก่อกำเนิดองค์กรเหนือชาติได้หรือไม่ จงอธิบาย
ท่านคิดว่ากลไกของกฎหมายระหว่างประเทศ สามารถมีผลจริงในทางปฎิบัติหรือไม่
ท่านคิดว่านโยบายต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงระหว่างประเทศอย่างไร
กลุ่มโจทย์พิเศษ - สามสาขา
รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เมื่อเกิดสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้หลายประเทศพยายามที่จะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซียเพื่อให้ยุติการจู่โจมยูเครน จากสถานการณ์ดังกล่าวไทยควรแสดงท่าทีอย่างไรต่อสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จงอภิปราย
ท่านคิดว่าวงจรอุบาทของการเมืองไทย ที่ทำให้ประเทศตกอยู่ในกับดักประเทศกำลังพัฒนามากว่า 30 ปี มีสาเหตุมาจากอะไรและหากท่านเป็นเพียงประชาชนคนธรรมดาท่านจะทำอย่างไรให้ประเทศหลุดออกจากกับดักนี้ จงอภิปรายพร้อมเหตุผลประกอบ
หากนักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นหนึ่งใน 12 เทพเจ้ากรีกและเทพธิดากรีกแห่งเขาโอลิมปัส นักเรียนจะเลือกเป็นเทพเจ้าองค์ใด เมื่อได้เป็นเทพเจ้าตามที่เลือกจะใช้พลังวิเศษช่วยเหลือประเทศไทยอย่างไรบ้างพร้อมอธิบายวิธีการช่วยเหลือ
ในความคิดของท่าน นายกรัฐมนตรีในยุค Digital politics ควรมีลักษณะอย่างไร อ้างอิงจากบริบทการเมืองไทยในปัจจุบัน
การรู้จักหน้าที่ คือ การละทิ้งเสรีภาพของตนเองหรือไม่
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือเป็นอุปสรรคต่อเอกภาพของมนุษยชาติหรือไม่
ปัจจุบันกลุ่มความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ ได้ถูกยอมรับและพูดถึงมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยได้มีการพิจารณานำร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมขึ้นในปี พ.ศ.2563 ท่านเห็นด้วยกับการร่างกฎหมายดังกล่าว หรือไม่อย่างไร จงอภิปราย
ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปันส่วน (Mixed Member Proportional : MMP) เป็นระบบเลือกตั้งแบบผสม (Mixed Member Majoritarian : MMM) ทั้ง 2 ระบบนี้มีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร และท่านเห็นด้วยกับระบบใดมากที่สุด
ในฐานะที่เป็นนักเรียน ท่านคิดว่าปัญหาการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันคืออะไร ถ้าหากมีโอกาสได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านจะเสนอวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
หลักการสำคัญที่ทำให้การบริหารงานภาครัฐ หรือภาคสาธารณะมีความแตกต่างจากการบริหารงานในภาคธุรกิจเอกชนได้แก่ “หลักผลประโยชน์สาธารณะ” (public interest) ขอให้อธิบายว่า หลักการดังกล่าวคืออะไร และมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับการขับเคลื่อนงานของภาครัฐ
จากการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหาระบบการศึกษา นักเรียนคิดว่าปัญหาคืออะไร และอยากปฏิรูปอย่างไรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ท่านคิดว่าสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนส่งผลกระทบต่อการเมืองโลก และประเทศไทยอย่างไร จงอภิปราย
จากปัญหาฝุ่นควันที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ท่านคิดว่าประเทศไทยควรมีมาตราการทางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างไร เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว
ระบอบประชาธิปไตยแบบอเสรีนิยมคืออะไร และประเทศไทยในทุกวันนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
นักคิดทางรัฐศาสตร์ กล่าวว่า “การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบจำเป็น แต่การเลือกตั้งก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ๆ หนึ่ง” ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
วีดีโอการสอนย้อนหลัง Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
ตัวอย่างการถอดประเด็นตามหัวข้อการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
เราสามารถหลุดพ้นจากกาลเวลาได้หรือไม่ = เราไม่จำเป็นต้องหลุดพ้นกาลเวลา เพราะกาลเวลาไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงคำจำกัดความของคนเราที่ไม่สามารถมีชีวิตไปจนชั่วนิรันตร์ได้
เพราะเหตุใดเราถึงต้องอธิบายผลงานศิลปะ ตอบ =ในมุมมองของอธิบายผลงานผู้อื่น เป็นการตอบคำถามที่เจ้าของผลงานนั้นได้ตั้งเอาไว้ผ่านผลงานของเขา ในมุมมองของเจ้าของผลงาน คงเพราะในโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าจะสร้างคุณค่าผลงานศิลปะให้แก่่ผู้อื่น ก็ต้องอธิบาย ถ้าไม่เก่งเรื่องการใส่จิตวิญญาณในรูปแบบคำอธิบายลงในผลงานได้ ก็ต้องอธิบายเอง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือเป็นอุปสรรคต่อเอกภาพของมนุษยชาติหรือไม่ ตอบ = เป็นอุปสรรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้ไม่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ก็มีความหลากหลายทางความคิดส่วนบุคคลมาเป็นอุปสรรคอยู่ดี
การรู้จักหน้าที่ คือ การละทิ้งเสรีภาพของตนเองหรือไม่ ตอบ = หน้าที่ที่ขัดกับเสรีภาพของตัวเองและผู้อื่นไปพร้อมๆกัน ไม่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่ที่ขัดกับเสรีภาพของตัวเอง เรียกว่าความรับผิดชอบ ไม่ได้เรียกหน้าที่ ความรับผิดชอบอยู่เหนือเสรีภาพของตัวเอง แต่ไม่ทำลายเสรีภาพผู้อื่น
ตัวอย่างการร่าง
เราหลุดพ้นจากกาลเวลาได้ หากรู้สึกถึงจิตและการกระทำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต จะหายไป
การอธิบายศิลปะ มีเพื่อการเห็นการประกอบกันของเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่รวมขึ้นมาเป็นงานชิ้นนั้ย และเรียนรู้มัน ทั้งจากมุมผู้ถ่ายทอด และจากตัวเราเอง
เป็นทั้งประโยชน์และอุปสรรคอาจทำให้เกิดความไม่ลงรอย แต่ก็ทำให้เกิดการถก ถาม เรียนรู้และการกล้าจะเข้าใจทั้งที่ไม่เข้าใจ
ใช่ และไม่ใช่ เพราะมีทั้งหน้าที่ส่วนตนและหน้าที่ส่วนรวมเพราะเราอยู่เพื่อทุกสิ่งที่ไม่ใช่เรา = โลก , โลก = เรา
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 1/2567 วิชาความถนัดทางนิติ-รัฐศาสตร์
คลิกที่รูปเพื่อเปิดดูข้อสอบ
รายละเอียดของการทดสอบการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ (กดเพื่อดูข้อความที่ถูกซ่อน)
การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการฝึกหัดให้นักเรียนในแผนการเรียนศิลป์นิติ - รัฐศาสตร์ทุกคน ได้เขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ โดยปรับประยุกต์จากการเขียนเรียงความในวิชาปกติ ได้แก่วิชาภาษาไทย บวกกับหลักการทางวิชาการของรัฐศาสตร์ เขียนเป็นเรียงความออกมา ทั้งนี้การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ นอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับผู้ที่จะสอบเข้าเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์ ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนในการฝึกฝนและฝึกทักษะ กระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลออกมา และสามารถปรับประยุกต์ไปใช้ในการเรียนในชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
การทดสอบการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ กำหนดให้นักเรียนเขียนด้วยลายมือของตนเอง (เน้นย้ำ) ตามหัวข้อที่นักเรียนได้รับจากการสุ่ม จำนวน 2 หน้ากระดาษ A4 รายละเอียดและหลักเกณฑ์การเขียนเรียงความ เป็นไปตามคู่มือทั้ง 2 เล่มที่ได้กำหนดไว้
คู่มือคำแนะนำการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
Political science essay writing คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือฉบับย่อ
หลักการเขียนตอบข้อสอบเรียงความ คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
เงื่อนไขพิเศษที่กำหนด (สำหรับเรื่องการพิมพ์ จะไปตกลงในชั้นเรียน)
กำหนดให้เขียนชื่อ นามสกุล ชั้น เลขที่ ไว้ที่มุมกระดาษด้านบนขวามือเท่านั้น
กำหนดให้ใช้ปากกาน้ำเงินในการเขียน หรือพิมพ์ด้วยอักษรขนาด 16pt
ลายมือในการเขียน เน้นอ่านออก และอ่านง่าย กรณีเขียนอ่านไม่ออก เขียนหวัด เขียนยึกยือ เขียนชิด เขียนไม่ยกปากกา จะตัดคะแนนเป็นจุดไปตามสมควร หากอ่านไม่ออกเกิน 1 ใน 3 ของเรียงความทั้งหมด จะปรับตกเป็น 0 คะแนน
กรณีการพิมพ์เน้นแบบฟอร์มให้มีความเรียบร้อย อ่านง่าย และเป็นไปตามการจัดรูปแบบ หากไม่เรียบร้อยเกิน 1 ใน 3 จะปรับตกเป็น 0 คะแนน
กำหนดให้ประเด็นหรือข้อความใดที่เป็นใจความสำคัญ ให้ขีดเส้นใต้ด้วยปากกาสีแดง จำนวน 2 เส้น
กรณีเขียนผิด ให้ใช้ปากกาสีแดงขีดฆ่า 1 เส้น เป็นเส้นตรง (ตัวอย่าง - เขียนผิด ) และเขียนข้อความต่อได้เลย ทั้งนี้ ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด มาร์กเกอร์ลบคำผิดเด็ดขาด
การส่งเรียงความและกำหนดการส่ง
กำหนดให้จับหมายเลข (จับแล้วในวันที่ 26 สิงหาคม 2567) และแบ่งหัวข้อตามที่ได้รับมอบหมายในการเขียน คนละ 1 หัวข้อ
กำหนดให้นักเรียนแสกนเรียงความเป็นไฟล์ PDF ที่สามารถอ่านได้ชัดเจน จำนวน 1 ไฟล์
กำหนดส่งตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 เวลา 23.59 น. เวลามาตรฐานประเทศไทย (ยึดเวลาตาม Google froms) (ใครเขียนในกระดาษ ให้นำตัวจริง ส่งวันสอบวันแรก ก่อน 12.00 น. ตรง)
นักเรียนที่ส่งงานเขียนช้ากว่ากำหนด จะถูกหักคะแนนลงตามสัดส่วนของเวลาที่เกินไป ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัย ให้แจ้งครูผู้สอนพร้อมหลักฐานภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่เวลาสิ้นสุดการส่งงาน มิเช่นนั้นจะถือว่านักเรียนสละสิทธิ์ในการอุธรณ์ผลการพิจารณา
เลือกหัวข้องานข้อสอบปลายภาค ส30230 ความถนัดทางนิติ - รัฐศาสตร์
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2566 (WR.AC.TH Only)
โครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 4
GOGLE DRIVE ALL FILE CILK
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2565
🌟 มาแล้วน้องจ๋า หนังสือติวสิงห์สาสที่น้องอยากได้ ✨✨
✦ ━━━━━━━━━━━━━━━━━
✨ และแล้วเราก็ผ่านช่วงของการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 3 กันไปแล้วนะครับ น้อง ๆ ทุกคนเก่งกันมาก ๆ เลย พี่สิงห์ขอยินดีกับน้อง ๆ ทุกคนที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมติวด้วยน้า 🥳 และขอเป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ที่สมัครเข้ามาทุกคนเลยนะครับ อย่าพึ่งหมดหวังกันน๊า ปีหน้ามาใหม่นะครับ
และในวันนี้พี่สิงห์ก็มาพร้อมกับหนังสือติวโครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 3 ที่น้อง ๆ ทุกคนสามารถ Download ได้โดยแสกนผ่าน QR Code หรือกดที่ Link ด้านล้างนี้ 👇👇👇
หนังสือติวรัฐศาสตร์ >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือติวสังคมศึกษา >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ทางเชื่อมโยงสู่เว็บไซต์รายวิชา
Link ไปที่ ส 30225 รัฐศาสตร์เบื้องต้น
Link ไปที่ ส 30227 การบริหารรัฐกิจ
Link ไปที่ ส 30229 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2564
พี่ ๆ จากโครงการสิงห์สาสพาติว ครั้งที่ 2 ได้นำไฟล์หนังสือติวที่ได้ตั้งใจรวบรวมและจัดทำขึ้นเพื่อให้น้อง ๆ ได้ใช้ประกอบการติวในวันที่ 1 - 13 กันยายน 2564 นี้ ให้น้อง ๆ Download ไปอ่านล่วงหน้าได้เลย น้อง ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมติวก็สามารถ Download ไปอ่านได้เช่นกันน้า 💫
หนังสือติวรัฐศาสตร์ >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือติวสังคมศึกษา >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
สอนเฉพาะ ปี 2564
เอกสารประกอบการสอนสด ปีการศึกษา 2564
PowerPoint 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เก็บ Point รัฐศาสตร์ (สามแขนงหลัก PS - PA - IR) คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์
Onenote 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เข้าใจในหลักรัฐศาสตร์ และ ปอกเปลือกการเมืองไทย (หน้าที่ 18 - 35) คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์