ธงคำตอบเศรษฐศาสตร์กลางภาค ส 32103 ปีการศึกษา 2567
ข้อสอบวัดผลปลายกลางเรียน ภาคเรียนที่ 2/2567 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 - 5/7
รายวิชาเศรษฐศาสตร์ (ส 32103) เวลา 60 นาที คะแนนเต็ม 20 คะแนน
โรงเรียนวัชรวิทยา อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อสอบกลางภาค ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ฉบับจริง + เฉลย
สอบ 23 ธันวาคม 2567 เวลา 10.30 - 11.30 น.
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 2/2567 รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ (สำหรับครูผู้สอน)
เฉลยข้อสอบปรนัย 30 ข้อ แบบปกติ
เฉลยข้อสอบอัตนัย ข้อ 1
เฉลยข้อสอบอัตนัย ข้อ 2
Password : ให้ติดต่อขอส่วนตัวที่ https://www.facebook.com/ninesoc เท่านั้น
ห้ามเผยแพร่ - ส่งต่อ - ทำสำเนา - คัดลอก - แคปจอ ธงคำตอบปรนัยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืน คะแนนปลายภาค = 0
ธงคำตอบข้อสอบปรนัย ข้อ 1 - 30 (ณ 23 ธ.ค. 2567 เวลา 11.30 น.)
ธงคำตอบข้อสอบอัตนัย ข้อ 1 (ณ 23 ธ.ค. 2567 เวลา 11.30 น.)
ตัวอย่างรูปกราฟ (1 คะแนน) // ในตัวอย่างไม่ได้พอตกราฟครบทุกระดับราคา เวลาสอบจริงต้องพอตทุกระดับราคา
รูปกราฟ รอต้นแบบจากนักเรียนที่ทำได้สูงสุด (1 คะแนน)
หลังจากวาดกราฟเสร็จ จงตอบ (1 คะแนน)
ราคาดุลยภาพ (ณ จุด E) เท่ากับ 6,000 บาท ปริมาณดุลยภาพ เท่ากับ 9 ตัน
ณ ระดับราคา ..... บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด) หรือ (อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน) เพราะอะไร ? (ให้เขียนทุกระดับราคา)
ณ ระดับราคา 12,000 บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน) เพราะ คนซื้อ = 0 ตัน แต่คนขาย = 18 ตัน ทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดที่ 18 ตัน
ณ ระดับราคา 10,000 บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน) เพราะ คนซื้อ = 3 ตัน แต่คนขาย = 15 ตัน ทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดที่ 12 ตัน
ณ ระดับราคา 8,000 บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน) เพราะ คนซื้อ = 6 ตัน แต่คนขาย = 12 ตัน ทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดที่ 6 ตัน
ณ ระดับราคา 6,000 บาท เกิดภาวะ (ดุลยภาพ) เพราะ เพราะ คนซื้อ = 9 ตัน แต่คนขาย = 9 ตัน ทำให้เกิดสินค้าหมดพอดี
ณ ระดับราคา 4,000 บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด) เพราะ คนซื้อ = 12 ตัน แต่คนขาย = 6 ตัน ทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาดที่ 6 ตัน
ณ ระดับราคา 2,000 บาท เกิดภาวะ (อุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน) เพราะ คนซื้อ = 15 ตัน แต่คนขาย = 3 ตัน ทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาดที่ 12 ตัน
ธงคำตอบข้อสอบอัตนัย ข้อ 2 (ณ 23 ธ.ค. 2567 เวลา 11.30 น.)
ให้ใช้สถานการณ์ที่กำหนดให้ แล้ววาดกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อุปทาน พร้อมทั้งเขียนอธิบายพอสังเขปให้เข้าใจง่าย (6 คะแนน)
สถานการณ์ที่ 1 “ถ้าราคาและปริมาณดุลยภาพของตลาดผักถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดและปราศจากการแทรกแซงตลาดโดยรัฐบาลแล้ว” จงวาดกราฟที่พยากรณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในตลาดผักเมื่อเข้าสู่เทศกาลการตรุษจีน
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของเทศกาล
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์ (D) เนื่องจากเป็นเทศกาลกินเจ (ตัวแปรด้านอุปสงค์)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์ของตลาดผัก พบว่า เมื่อเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะบริโภคผักเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อผักมีปริมาณน้อยลง (อุปสงค์ลดลง) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดผักเดิมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาลแล้วนั้น เมื่อมีเทศกาลตรุษจีน จะก่อให้เกิดเส้นอุปสงค์เส้นใหม่ (D2) ที่เคลื่อนไปทางซ้ายมือ (Shift ซ้ายทั้งเส้น) จากเส้นอุปสงค์เดิม (D1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง.
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
สถานการณ์ที่ 2 “ถ้าราคาลำไยในตลาดถูกลง เนื่องจากมีการนำเข้าปุ๋ยราคาถูกจากจีน จะทำให้อุปทานเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร” จงวาดกราฟที่พยากรณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของราคาปุ๋ย ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตลำไย (ใช้บำรุงลำไย)
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปทาน (S) เนื่องจากเป็นเรื่องของต้นทุนการผลิต อนึ่งโจทย์ได้ตั้งประเด็นคำถามถึงว่า "จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปทานอย่างไร" (ตัวแปรด้านทาน)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์อุปทานของลำไย พบว่า เมื่อราคาปุ๋ยปรับตัวลดลง ย่อมส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลำไยของผู้ผลิตลดลง ผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะผลิตลำไยมากขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการผลิตลำไยเพื่อขายมีปริมาณเพิ่มขึ้น (อุปทานเพิ่มขึ้น) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดลำไยเดิมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาลแล้วนั้น เมื่อราคาปุ๋ยถูกลง จะก่อให้เกิดเส้นอุปทานเส้นใหม่ (S2) ที่เคลื่อนไปทางขวามือ (Shift ขวาทั้งเส้น) จากเส้นอุปทานเดิม (S1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง.
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์ที่ 3 “น้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเป็นสินค้าที่แตกต่างกัน แต่ใช้ทดแทนกันได้ ถ้าราคาขึ้นลงได้อย่างเสรี หากปัจจุบันเกิดสภาวะปาล์มน้ำมันราคาแพง จะส่งผลอย่างไรต่อตลาดน้ำมันปาล์ม” จงวาดกราฟที่พยากรณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของสินค้าที่เกี่ยวข้อง (สินค้าใช้แทนกัน) (น้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง)
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์ (D) เนื่องจากเป็นเรื่องของสินค้าที่เกี่ยวของ (สินค้าใช้แทนกันระหว่างน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง (ตัวแปรด้านอุปสงค์)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์ของตลาดน้ำมันปาล์ม พบว่า น้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเป็นสินค้าที่แตกต่างกัน แต่ใช้ทดแทนกันได้ ถ้าราคาขึ้นลงได้อย่างเสรีใหากปัจจุบันเกิดสภาวะปาล์มน้ำมันราคาแพง ทำให้น้ำมันปาล์มราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันไปใช้น้ำมันถั่วเหลืองมากขึ้น แล้วด้วยเหตุผลต่าง ๆ ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อน้ำมันถั่วเหลืองมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น (อุปสงค์เพิ่มขึ้น)
เมื่อพิจารณาจากโจทย์ที่ถามผลที่เกิดขึ้นกับตลาดน้ำมันปาล์มที่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้อง (สินค้าใช้แทนกัน) ที่ย่อมได้รับผลกระทบเพราะผู้บริโภคใช้น้ำมันปาล์มลดลง ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มมีปริมาณลดลง (อุปสงค์ลดลง) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดน้ำมันปาล์มเดิมที่ราคาขึ้นลงได้อย่างเสรี แล้วนั้น จะก่อให้เกิดเส้นอุปสงค์เส้นใหม่ (D2) ที่เคลื่อนไปทางซ้ายมือ (Shift ซ้ายทั้งเส้น) จากเส้นอุปสงค์เดิม (D1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
สถานการณ์ที่ 4 หากผู้บริโภคคาดว่า รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะมีราคาลด 50 % จะส่งผลให้ราคาและปริมาณดุลยภาพของตลาด รถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของการคาดการราคาสินค้าในอนาคต (อีกทั้งในโจทย์มีการระบุด้วยว่าผู้บริโภค)
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์ (D) เนื่องจากเป็นเรื่องของการคาดการราคาสินค้าในอนาคต (อีกทั้งในโจทย์มีการระบุด้วยว่าผู้บริโภค) (ตัวแปรด้านอุปสงค์)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า พบว่าหากผู้บริโภคคาดว่า รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะมีราคาลด 50 % จะส่งผลให้ราคาและปริมาณดุลยภาพของตลาด รถยนต์ไฟฟ้า ในอนาคตมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคารถยนต์ในอนาคตถูกลง
ส่วนประเด็นที่โจทย์ถามว่า จะส่งผลให้ราคาและปริมาณดุลยภาพของตลาด รถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันเป็นอย่างไร กล่าวคือ ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามีปริมาณลดลง (อุปสงค์ลดลง) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเดิมที่แล้วนั้น จะก่อให้เกิดเส้นอุปสงค์เส้นใหม่ (D2) ที่เคลื่อนไปทางซ้ายมือ (Shift ซ้ายทั้งเส้น) จากเส้นอุปสงค์เดิม (D1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
สถานการณ์ที่ 5 เมื่อราคายางพาราตกต่ำ รัฐบาลจึงเสนอให้มีการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน ทําให้เกิดผลต่อเส้นอุปสงค์หรืออุปทานของยางพาราอย่างไร
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการเสนอให้มีการแปรรูปยางพาราโดยร่วมมือกับเอกชน
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปทาน (S) เนื่องจากเป็นเรื่องของการที่รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดการผลิตยางพารา (ตัวแปรด้านอุปทาน)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์ของตลาดยางพารา พบว่าเนื่องจากราคายางพาราตกต่ำ รัฐบาลจึงเสนอให้มีการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยร่วมมือกับภาคเอกชน ทำให้ผู้ผลิตมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น (อุปทานเพิ่มขึ้น) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดยางพาราเดิมแล้วนั้น จะก่อให้เกิดเส้นอุปทานเส้นใหม่ (S2) ที่เคลื่อนไปทางขวามือ (Shift ขวาทั้งเส้น) จากเส้นอุปสงค์เดิม (D1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
สถานการณ์ที่ 6 สมมติให้มีสินค้า 2 ชนิดคือ สินค้า A และสินค้า B ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน กําหนดให้อุปทานของสินค้าทั้งสองไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากราคาสินค้า B ลดลง ในขณะที่ราคาสินค้า A คงที่ ราคาและปริมาณดุลยภาพในตลาดสินค้า A จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ธงคำตอบ คำอธิบายและการวิเคราะห์สถานการณ์
จากสถานการณ์ที่กำหนด พิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น "ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องของสินค้าที่เกี่ยวข้อง (สินค้าใช้แทนกัน) (สินค้า A และ B)
จากสถานการณ์ที่กำหนด พบว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์ (D) เนื่องจากเป็นเรื่องของสินค้าที่เกี่ยวของ (สินค้าใช้แทนกันระหว่างสินค้า A และ B (ตัวแปรด้านอุปสงค์)
จากการพิจารณาแนวโน้มของสถานการณ์ของตลาดสินค้า A และ B พบว่า สมมติให้มีสินค้า 2 ชนิดคือ สินค้า A และสินค้า B ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน กําหนดให้อุปทานของสินค้าทั้งสองไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากราคาสินค้า B ลดลง ในขณะที่ราคาสินค้า A คงที่ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันไปซื้อสินค้า B มากขึ้น แล้วด้วยเหตุผลต่าง ๆ ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้า B มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น (อุปสงค์เพิ่มขึ้น)
เมื่อพิจารณาจากโจทย์ที่ถามผลที่เกิดขึ้นกับตลาดสินค้า A ที่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้อง (สินค้าใช้แทนกัน) ที่ย่อมได้รับผลกระทบเพราะผู้บริโภคซื้อสินค้า A ลดลง ส่งผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้า A มีปริมาณลดลง (อุปสงค์ลดลง) ดังนั้น เมื่อ D1, S1 และ E1 เป็นตลาดสินค้า A เดิมที่ราคาขึ้นลงได้อย่างเสรี แล้วนั้น จะก่อให้เกิดเส้นอุปสงค์เส้นใหม่ (D2) ที่เคลื่อนไปทางซ้ายมือ (Shift ซ้ายทั้งเส้น) จากเส้นอุปสงค์เดิม (D1)
โดยสรุป
ราคาดุลยภาพใหม่ (PE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ปริมาณดุลยภาพใหม่ (QE) มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 2/2566 รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ (สำหรับครูผู้สอน)
ข้อสอบกลางภาคเรียนที่ 2/2566 รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ (สำหรับครูผู้สอน)
เฉลยข้อสอบปรนัย 45 ข้อ แบบละเอียด
เฉลยข้อสอบอัตนัย ข้อ 1