บทเรียนออนไลน์ การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6 

(Local Government of Thailand, Thai Local Government

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

Keywords : หลักการปกครองท้องถิ่นของไทย | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล | การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ | เมืองพัทยา | กรุงเทพมหานคร | การมีส่วนร่วมของประชาชน ความเป็นมาของการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน หลักการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปกครองรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น

Learning unit 0 : ปฐมนิเทศ - แจ้งข่าวสารรายวิชา

รายวิชา ส 30xxx การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6 (Local Government of Thailand) 

Learning unit 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นของไทย

การปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยพัฒนา การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเปนประมุขให้ก้าวหน้า เพราะเป็นการกระจายอํานาจการปกครองจากส่วนกลางให้ครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ ซึ่งการปกครองทองถิ่นของไทยไดเริ่มดําเนินการมาตั้งแตอดีตและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น.pdf

PowerPoint Learning unit 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นของไทย คลิกเพื่อเปิดเอกสาร

Learning unit 2 : องค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นและหน่วยงานต่างๆ ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เป็นองค์กรแห่งการบริการสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยที่ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด.pdf

PowerPoint Learning unit 2 : องค์การบริหารส่วนจังหวัด คลิกเพื่อเปิดเอกสาร

Learning unit 3 : เทศบาล

เทศบาล municipality เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น เพื่อการพึ่งตนเองและบริหารจัดการกิจการสาธารณประโยชน์ สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสุขของราษฎรในท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้น ได้แก่ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยที่ 3 เทศบาล.pdf

PowerPoint Learning unit 3 : เทศบาล คลิกเพื่อเปิดเอกสาร

Learning unit 4 : องค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) Subdistrict Administrative Organization คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีพื้นที่เท่ากับตำบลแต่ละตำบล จัดตั้งมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีจำนวนราษฎรไม่น้อยกว่า 2,000 คน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล เขต อบต. แทนรัฐบาลกลาง มีฐานะเป็นเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 มีองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งสิ้น 5,300 แห่ง

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยที่ 4 องค์การบริหารส่วนตำบล.pdf

PowerPoint Learning unit 4 : องค์การบริหารส่วนตำบล คลิก

Learning unit 5 : การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลประชาชนในท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างไปจากท้องถิ่นอื่น นอกเหนือไปจากการมีโครงสร้างการบริหาร การ กำหนดที่มาของผู้บริหาร การมีอำนาจหน้าที่จัดบริการสาธารณะ และการ บริหารงานบุคคลที่มีการกำหนดโดยเฉพาะบางประการให้ต่างไปจากองค์กรรูปแบบปกติ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หรือ เขตปกครองพิเศษ คือ การปกครองรูปแบบหนึ่งในประเทศไทยที่ปกครองแบบพิเศษจะประกอบด้วย สภา ผู้ว่าราชการ หรือนายก ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยจะมีอยู่สองเขตการปกครองที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

กรุงเทพมหานคร เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกแล้วใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แทน

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยที่ 5 การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ.pdf

PowerPoint Learning unit 5 : การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คลิก

Learning unit 6 : การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะต้องตระหนักในบทบาทของตนเอง ทั้งในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การอยุรักษ์และจัดสรรทรัพยากรส่วนื้องถิ่น เพราะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ย่อมมีความรู้ความเข้าใจท้องถิ่นของตนเอง ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง

สาระการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

หน่วยที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น.pdf

PowerPoint Learning unit 6 : การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น คลิก

สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม

12ระบบราชการไทยในโลกาภิวัฒน์.pdf

ประกาศ 😍 หากท่านใดที่สนใจไฟล์สื่อประกอบการสอนแบบ PDF + สื่อแบบ PPT แบบแก้ไขได้ 

📱 กรุณาติดต่อได้ที่ 

💵 [มีค่าสนับสนุนสื่อเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาเว็บไซต์จ้า]