บทเรียนออนไลน์ ส 32103  เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 0 แนะนำรายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์

นายมงคล สุขีลักษณ์ โรงเรียนวัชรวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร

บางลิงก์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเท่านั้น ขออภัยในความไม่สะดวก

Learning unit 0 : แนะนำรายวิชาเศรษฐศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกห้อง (ห้อง 1, 2, 5, 6 เรียนกับครู นน. ส่วนห้อง 3, 4, 7 เรียนกับครู จจ.)

PPT For nine click

ก่อนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์

นักเรียน ม.5 ทุกคนจะต้องทำแบบฟอร์ม 2 ชุด ได้แก่

สื่อการสอน Learning unit 0 : แนะนำรายวิชาเศรษฐศาสตร์

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง Online learning resources

Facebook

เอกสารประกอบการเรียน - แผนการสอนรายวิชาเศรษฐศาสตร์

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกห้อง (ห้อง 1, 2, 5, 6 เรียนกับครู นน. ส่วนห้อง 3, 4, 7 เรียนกับครู จจ.)

คำอธิบายรายวิชา (สาระพื้นฐาน) รายวิชาเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา ส32103 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต                                                                    

ศึกษา  อภิปราย อธิบาย  วิเคราะห์ เกี่ยวกับ การกำหนดราคาและค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ และบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาและการควบคุมราคา เพื่อการแจกจ่ายและจัดสรรในทางเศรษฐกิจ ตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม  ประเทศและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว  และเห็นความสำคัญในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับปัจจุบัน ความหมาย  วิวัฒนาการของสหกรณ์ในประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของระบบสหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชนและเสนอแนวทางแก้ไขบทบาทของรัฐบาลด้านนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจ และบอกแนวทางในการแก้ปัญหาของนโยบายการเงิน  การคลัง วิวัฒนาการของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทยและกลุ่มประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ผลดี ผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ  ที่นำไปสู่การพึ่งพา การแข่งขัน การขัดแย้ง และการประสานประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ

ด้วยกระบวนการคิด  กระบวนการอภิปราย กระบวนการวิเคราะห์  สังเคราะห์  กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการสร้างความตระหนัก มีการบูรณาการและประยุกต์ใช้ตามเนื้อหาในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น อาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ (Active Learning) และการบูรณาการตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์  ปัญหาที่เกิดขึ้น  แนวทางการแก้ไข  รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง และส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

มาตรฐาน  ส 3.1  ตัวชี้วัดที่ ม. 4-6/1, ม. 4-6 /2, ม. 4-6 /3,  ม. 4-6 /4

มาตรฐาน  ส 3.2  ตัวชี้วัดที่ ม. 4-6/1, ม. 4-6 /2, ม. 4-6 /3

รวม 2 มาตรฐาน 7 ตัวชี้วัด   

Learning unit : 1 - 5 : หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 5

ข้อสอบวัดผลกลางภาค - ปลายภาค ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ม.4 - 6

ปีเก่า