ฝึกปฎิบัติการ 1 : ฝึกเขียนและวิเคราะห์กราฟกลไกราคา
ฝึกเขียนและวิเคราะห์กราฟกลไกราคา : ราคาดุลยภาพ ภาวะสินค้าล้น,ขาดตลาดด้วยการเขียนกราฟ (price mechanism)
เนื้อหาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ หน่วยการเรียนรู้ 1 ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง
ขอบคุณสื่อประกอบจากครูทัศนวัฒน์ ซอแก้ว มา ณ โอกาสนี้จ้า
โจทย์คือ อยากให้นักเรียนเข้าใจความหมายเบื้องต้นของอุปสงค์ อุปทาน ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับราคา ภาวะดุลยภาพ ถ้าเขาจะต้องขายของเขาควรจะกำหนดราคาเท่าไหร่ สินค้าจึงจะขายได้ และขายหมดด้วย โดยให้เขามองและทำความเข้าใจจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ โดยการวาดกราฟ
รายการเอกสาร
กระดาษกราฟ คลิก
นักเรียนใช้โจทย์ตามที่ครูสุ่ม หรือ ตามที่นักเรียนสนใจ จากนั้นนักเรียนเขียนกราฟที่มีแกน P (ราคา) และแกน Q (ปริมาณ) จากนั้นใส่ข้อมูลราคาและปริมาณให้ถูกต้อง โดยเฉพาะแกนปริมาณ (Q) จะต้องเน้นย้ำให้ไล่เรียงปริมาณจากน้อย ไปมาก โดยดูจากทั้งช่องอุปสงค์และอุปทาน (ตามภาพ 10 ในช่องอุปทาน ต่อมา คือ 20 ในช่อง อุปสงค์ ไล่เรียงไปเรื่อย ๆ 30 45 50 65 82 90 100 150)
จากนั้นทำการ Plot กราฟแต่ละเส้นจากข้อมูลในตาราง โดยใช้ปากกาคนละสีเพื่อจะได้แยกเส้นอุปสงค์และอุปทานออก
ไฮไลท์ที่เรารอคอยมาแล้ววววว....ดูที่ตรงจุดตัดของเส้นอุปสงค์และอุปทาน ตรงนี้คือ จุดดุลยภาพ หรือราคาดุลยภาพ ราคาที่คนซื้อกับคนขายตกตลงราคากันได้ อยากรู้ว่าสินค้านี้ควรขายกี่บาท ปริมาณเท่าไหร่ ให้เราลากเส้นจากจุดตัดไปชน แกน P (ราคา) และ แกน Q (ปริมาณ)
ในตัวอย่างเส้นประที่ลากจากจุดตัดออกไป ราคาดุลยภาพ ประมาณ 16,000 บาท ปริมาณ 60 เครื่อง (P=16,000 , Q=60)
กราฟนี้บอกอะไรเราได้บ้าง?...พื้นที่สีเหลือง คือ พื้นที่ที่เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) ส่วนสีฟ้า คือ พื้นที่เกิดภาวะอุปสงค์ส้่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) คำนี้แหละที่นักเรียน งง ตลอดเลย 5555+
เส้นสีชมพู เป็นเส้นที่เราลากขึ้นมาเพื่อให้เด็ก ๆ มองออกว่า อุปสงค์ขาด อุปทานเกิน อุปทานขาด อุปสงค์เกิน มองยังไง
ตัวอย่าง พื้นที่สีเหลือง ที่ราคา 25,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 20 ไปไม่ถึง เส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์ขาด ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 150 เกินเส้นสีชมพูไป ดังนั้น ที่ราคา 25,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนขาด/อุปทานส่วนเกิน (ของล้นตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 150 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อในปริมาณ 5 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 145 เครื่อง เพราะมองว่าสินค้าราคา แพง (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)
พื้นที่สีฟ้า ที่ราคา 5,000 บาท อุปสงค์(เขียว) ปริมาณ 100 เกินเส้นชมพู แปลว่า อุปสงค์เกิน ขณะที่ อุปทาน(แดง) ปริมาณ 10 ไปไม่ถึงสีชมพู ดังนั้น ที่ราคา 5,0000 บาท เกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน/อุปทานส่วนขาด (ของขาดตลาด) อุปทานจากคนขายออกมาขาย 10 เครื่อง แต่อุปสงค์มีกำลังซื้อมากในปริมาณ 100 เครื่อง ทำให้เหลืออีก 90 เครื่อง เพราะคนซื้อมองว่าสินค้าราคา ถูก จึงต้องการมาก แต่คนขายมองว่า ราคาถูกเกินไปจึงนำออกมาขายน้อย (เป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทาน)
จุดตัด เกิดภาวะ ดุลยภาพ คือ คนซื้อกับคนขายสามารถตกลงราคากันได้ที่ราคา 16,000 บาท ปริมาณซื้อขาย 60 เครื่อง สินค้าหมดพอดี (ตามทฤษฎี)
ตัวอย่างการตอบข้อสอบอัตนัย ข้อ 1 โดย คุณ Puksuree Wasinamorn
*** ข้อสังเกตที่เป็นจุดตัดคะแนน มีดังนี้
กราฟต้องปรากฎข้อมูลครบถ้วนตามที่สอน การใส่ชื่อเส้น P, Q การใส่ E รวมทั้งสเกลต้องตรง หากสเกลไม่ตรง หักตามสมควร หากใส่องค์ประกอบไม่ครบ หักจุดละ 0.1
นักเรียนสามารถลากเส้นสมมติที่จุด E ที่สัมพันธ์กับแกน P และ Q ด้วยได้ (คะแนนพิเศษ)
ส่วนคำตอบ หากไม่ได้ใส่หน่วย หักจุดละ 0.1 คะแนน
หากไม่เขียนข้อ 3 ย่อยให้ครบทุกภาวะ / ระดับราคา หักจุดละ 0.1 คะแนน